วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

โครงการอบรมการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ด้วยระบบรูปแปลงที่ดินจากกรมที่ดินโดยยังไม่ต้องใช้ระวางที่ดิน”

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
การจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้วยระบบรูปแปลงที่ดินจากกรมที่ดินโดยยังไม่ต้องใช้ระวางที่ดิน
หลักการและเหตุผล
ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๑๑ กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดทาแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้บังคับใช้ หรือภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่มีพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีการหรือประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้ง หรือเปลี่ยนแปลงเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีผลบังคับใช้ โดยให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจาปีหรือจ่ายขาดเงินสะสมตามความจำเป็น และกระทรวงมหาดไทยได้ซักซ้อมแนวทางการจัดทางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณรายจ่ายโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการจัดทาหรือปรับข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๐ และการจัดทำฐานข้อมูลในการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การจัดทำข้อมูลแปลงที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยได้เร่งรัดให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำเนินการเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีระบบฐานข้อมูลที่แน่นอนและสามารถตรวจสอบได้โดยสะดวก รวดเร็ว นอกจากนี้ทุกหน่วยงานภายในท้องถิ่นก็สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารงานและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่วันที่ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๕๐ มีผลบังคับใช้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งยังไม่สามารถดำเนินการให้สาเร็จได้เนื่องจากมีปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดหลายด้าน อาทิ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะ งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดที่ปรึกษาที่มีความชานาญเฉพาะด้าน เป็นต้น บริษัท แอล.ที.แม็พ เทคโนโลยี จำกัด ได้ตระหนักถึงปัญหาที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งประสบอยู่จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขั้นพื้นฐานและเชิงรุกเพื่อรองรับร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” ขึ้น เพื่อเป็นการแนะนำและช่วยเหลือการจัดทาแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สาเร็จ และได้เชิญวิทยากรมือชีพที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีระสบการณ์ในการจัดทาแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่เข้าอบรมโดย แบ่งออกเป็นระดับพื้นฐานและแบบเชิงรุก เพื่อช่วยให้การอบรมการจัดทาแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินสมบูรณ์ครบถ้วนเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าอบรม ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมยังจัดเตรียมคณะทำงานให้คาปรึกษาเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าการใช้งานระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน และแก้ไขปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเครื่องมือในการทำงานที่สมบูรณ์ และสามารถปรับปรุงฐานข้อมูลด้วยตนเองจนทำให้ระบบแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดระสิทธิผลต่อไป


๓.วัตถุประสงค์
๓.๑ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย
สามารถจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เป็นธรรม และเกิดความสะดวดรวดเร็ว
๓.๒ เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินให้มีความครบถ้วน
ถูกต้อง สมบูรณ์
๓.๓ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ เกิด
ประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ อำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน
๓.๔ เพื่อให้การจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบที่ถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วน
และสามารถตรวจสอบได้
๔.เป้าหมาย
          ๔.๑ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๔.๒ หัวหน้าส่วนราชการ/ หัวหน้าฝ่าย/ หัวหน้ากอง/ ผู้อำนวยการกอง/ ผู้อำนวยการสานัก/
ปลัด อปท. /รองปลัด อปท.
๔.๓ ข้าราชการ/ พนักงานส่วนท้องถิ่น/ ลูกจ้างผู้ที่เกี่ยวข้องทุกตำแหน่งที่พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะเข้ารับการอบรมจำนวนผู้เข้าฝึกอบรมและระยะเวลา
๕. ระยะเวลาดาเนินการและสถานที่ฝึกอบรม
      อบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน ๔ วัน     วันที่     ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุมสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม ชั้น 4 อาคารศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนงามวงศ์วาน กรุงเทพมหานคร
จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 20 คน /รุ่น

๖. วิธีดาเนินการ/สิ่งที่ผู้เข้าอบรมต้องเตรียม
ขั้นเตรียมการดำเนินการ ดังนี้
๑) นำระวางที่ดิน ไปถ่ายสำเนาและสแกน (ถ้าไม่มี เรามีรูปแปลงที่ดินจากกรมที่ดินและสปก.4-01 ให้ทำตามตำบลของท่านเองทุกคน)
๒) จัดบุคลากรพนักงานเข้าร่วมอบรม
๓) จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการอบรม เช่น โทรศัพท์ระบบแอนดรอยด์ ปลั๊กสามตา
๔) เตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน
                      - ที่มีรุ่นของ CPU Core i5 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
                      - มีหน่วยความจำสำรอง Ram ไม่น้อยกว่า 4 Gb.
๕) การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สานักงานที่ดินจังหวัด / อำเภอ
การฝึกอบรมใช้วิธีการบรรยายและฝึกปฏิบัติโดยวิทยากรมืออาชีพ และมีประสบการณ์ในการจัดทาแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า ๑๐ ปี




๗. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
เมื่อได้ผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจะทำให้
๑) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถวางแผนการพัฒนาและจัดเก็บรายได้ของตนให้ครอบคลุมทั่วถึง
๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินอย่างครบถ้วน สมบูรณ์และถูกต้อง
๓) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหารงานจัดเก็บภาษี ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีระบบการจัดเก็บภาษีที่สมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นธรรม

๘. ค่าใช้จ่ายในการอบรม
๘.๑ ใช้งบประมาณของหน่วยงานต้นสังกัดของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- บุคลากร อปท. (อบต.,เทศบาล,อบจ.) ค่าลงทะเบียน 4,500 บาท
ชําระเงินล่วงหน้า ลดเหลือ 4,000 บาท
(อปท. เบิกค่าลงทะเบียนได้ วันละ 600 บาท ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และการเข้ารับการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2557 ข้อ 28)
-   ค่าลงทะเบียนรวม ค่าอาหารกลางวัน (๔ มื้อ) ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม (๗ มื้อ) ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจัดสถานที่อบรม ค่าจัดทำวุฒิบัตร หมวด ๒ ข้อ ๒๘ (๑)
๘.๒ ค่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ในการเดินทางให้เบิกจ่ายจากงบประมาณต้นสังกัด ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นพ.ศ.๒๕๕๕ และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาแล้ว
๙. การรับรองผลการฝึกอบรมผู้มีสิทธิเข้ารับประกาศนียบัตรรับรองผลการฝึกอบรม ซึ่งออกโดย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ จะต้องมีเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ % ของระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งหมด

  ๑๐. ช่องทางการรับสมัคร
ติดต่อ 091-004-2323
www.e-saantech.com
กำหนดการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
การจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้วยระบบรูปแปลงที่ดินจากกรมที่ดินโดยยังไม่ต้องใช้ระวางที่ดิน

วันที่หนึ่งของการอบรม
๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.         ลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรม/เตรียมอุปกรณ์การฝึกอบรม/บรรยายภาพรวมการสอน
๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.         ฝึกการนำเข้าระวางที่ดิน พร้อมใส่ค่าพิกัดระวาง (gcp.) การลากแนวเขตของ อปท.(Boundary) ฝึกการตั้งชั้นข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องในระบบแผนที่ภาษีฯ
วันที่สองของการอบรม
๐๘.๓๐ น.                  ลงทะเบียนอบรม
๐๙.๐๐ น.                  เตรียมอุปกรณ์เพื่อเตรียมอบรม
๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ น.         ฝึกการสร้างชั้นข้อมูลแนวถนน แนวแหล่งน้ำ แนวแปลงที่ดิน ลงเลขระบุตำแหน่งต่างๆของที่ดิน การนำเข้าข้อมูลไฟล์ สปก.4-01
๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.         พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.         ฝึกการสร้างชั้นข้อมูลแนวเขตโซน แนวเขตบล็อก เลขโซน เลขบล็อก รหัสแปลงที่ดิน
วันที่สามของการอบรม
๐๘.๓๐ น.                  ลงทะเบียนอบรม
๐๙.๐๐ น.                  เตรียมอุปกรณ์เพื่อเตรียมอบรม
๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ น.         ฝึกการสร้างชั้นข้อมูลโรงเรือนป้าย
๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.         พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.         ฝึกการนำเข้าข้อมูล ที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม และบันทึกลงระบบ LTAX๓๐๐๐
วันที่สี่ของการอบรม
๐๘.๓๐ น.                  ลงทะเบียนอบรม
๐๙.๐๐ น.                  เตรียมอุปกรณ์เพื่อเตรียมอบรม
๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ น.        ฝึกการนำเข้าส่งออกระบบแผนที่เข้าสู่โปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.         พักกรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น.         - ฝึกการใช้งานโปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
- ฝึกการปรับปรุงและการแก้ไขโปรแกรมแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
ให้เป็นปัจจุบัน
๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น.         สรุป/ ตอบข้อซักถาม/ แลกเปลี่ยนประสบการณ์/ปิดการอบรมและมอบวุฒิบัตร
หมายเหตุ :          ๑) กำหนดการและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
๒) ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับ ไฟล์ภาพถ่ายทางอากาศ พร้อมคำบรรยายแนวเขตสามารถค้นหาระวางที่ใช้จัดทาแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินทุกตาบล
๓) เวลา ๑๐.๓๐-๑๐.๔๕ น. อาหารว่างช่วงเช้า    เวลา ๑๓.๓๐-๑๓.๔๕ น. อาหารว่างช่วงบ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น